1. การตรวจสอบเนื้อหาของบทความโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงคุณประโยชน์ของบทความที่ได้รับด้วยความโปร่งใส
2. การพิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นต่อบทความที่ได้รับจากผู้นิพนธ์ด้วยความเป็นกลาง
3. การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความ ความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของนโยบายของวารสารฯ เป็นสำคัญ
4. การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่ออ่านประเมินบทความเป็นไปด้วยความโปร่งใส ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนและตรงตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา
5. การชี้แจงการแก้ไขบทความแก่ผู้นิพนธ์ด้วยความเต็มใจ หากจำเป็น
6. หากมีข้อร้องเรียนการตีพิมพ์ ให้บรรณาธิการดำเนินการให้เกิดความกระจ่าง
1. การตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ
2. การประเมินบทความให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีความเห็นว่าบทความได้รับการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข หรือ ยอมรับโดยมีเงื่อนไขหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ในวารสารฯ
3. การตรวจสอบบทความที่ผู้นิพนธ์ได้แก้ไขแล้วอีกครั้งหนึ่ง และเสนอความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้กองบรรณาธิการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ หรือให้ปฏิเสธการลงตีพิมพ์เผยแพร่
1. การรับรองว่าบทความที่จัดส่งมานั้น เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. การรับรองว่าบทความที่จัดส่งมานั้น ไม่อยู่ระหว่างการเสนอขอลงตีพิมพ์ในวารสาร/สิ่งพิมพ์อื่น
3. การไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอ หรือนำมาอ้างอิงในเนื้อหาภายในบทความของตน
4. กรณีบทความวิจัย ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
5. กรณีบทความวิชาการ ผู้นิพนธ์ต้องแสดงข้อคิดเห็น บทสรุป และข้อเสนอแนะที่มาจากการสังเคราะห์ของผู้นิพนธ์เอง
6. การไม่นำผลงานไปเผยแพร่ หรือตีพิมพ์ในแหล่งอื่น หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารฯ
7. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานนี้จริง
8. การเปิดเผยแหล่งทุนสนับสนุนการจัดทำผลงานทางวิชาการ (ถ้ามี)
9. การนำเสนอบทความให้ถูกต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ