วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม ด้านการออกแบบและด้านการก่อสร้าง โดยรับบทความวิจัย (research article) และบทความวิชาการ (academic article) ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ ได้แก่
               1. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture)
               2. สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture)
               3. สถาปัตยกรรมผังเมืองและการผังเมือง (Urban Architecture & Urban Planning)
               4. สถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture)
               5. ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture)
               6. การออกแบบสร้างสรรค์ และนฤมิตศิลป์ (Creative Design & Creative Arts)
               7. การออกแบบนิเทศศิลป์ และการออกแบบอุตสาหกรรม (Communication Design & Industrial design)
               8. การจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management)
               9. สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1. คำแนะนำในการเตรียมบทความ

เเป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ที่มีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษ A4 ตามแบบฟอร์ม JADC03-Template ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index และเป็นบทความที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารใด ๆ มาก่อน ต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่มีการลอกเลียน หรือตัดทอนผลงานวิจัยของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตและมีการอ้างอิงที่เหมาะสมชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ซึ่งขนาดตัวอักษร มีรายละเอียด ดังนี้

ชื่อเรื่อง (Title) มีควรกระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษใช้อักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา พิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ 
ชื่อ-สกุลผู้นิพนธ์ (Author Name) ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ
ที่อยู่ผู้นิพนธ์ (address) ประกอบด้วยตำแหน่งผู้นิพนธ์ ที่อยู่หน่วยงาน และรหัสไปรษณีย์ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ
บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์โดยย่อ วิธีการวิจัย และผลการวิจัยสรุปโดยย่อ ใช้อักษรขนาด 18 pt. ตัวธรรมดา และมีความยาวไม่เกิน 250 คำ
คำสำคัญ (Keyword) ให้พิมพ์ “คำสำคัญ:” เป็นตัวภาษาไทย และ “Keyword:” ภาษาอังกฤษใต้บทคัดย่อ (Abstract) ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาใช้ตัวธรรมดา
เนื้อหา (Text) บทความวิจัยประกอบด้วย
  บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของที่มาและปัญหาที่นำไปสู่การศึกษาวัตถุประสงค์ ทั้งนี้อาจรวมการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) และวัตถุประสงค์ (Objective) ตามความเหมาะสม
  วิธีการศึกษา (Research methods) กล่าวถึงรายละเอียดในการดำเนินการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ และสถิติที่ใช้ที่กระชับและชัดเจน ตามระเบียบวิธีของการวิจัยนั้น ๆ 
  ผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and Discussion) ระบุผลการการศึกษาที่พบอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และมีรายละเอียดครบถ้วน
ที่มีตารางหรือรูปภาพที่ชัดเจนประกอบคำอธิบาย และมีการวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ ที่มีการอ้างหลักการหรือทฤษฎีมาสนับสนุนหรือหักล้างอย่างเป็นเหตุผลเป็นผล 
  สรุป (Conclusion) สรุปเป็นข้อๆ เพื่อตอบปัญหาในการวิจัย ควรเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยหรือสมมติฐานในการวิจัย และควรจะสอดคล้องกันเป็นข้อๆ 
  ข้อเสนอแนะ (Recommendation) เสนอแนะขึ้นมาจากผลการวิจัยหรือข้อค้นพบจากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อให้ข้อมูล
คําแนะนํา แนวทาง หรือวิธีการใดๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํา ข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ  
  เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในบทความใช้การอ้างอิงแบบตัวเลข (APA) ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องมีในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ รายละเอียดตามแบบฟอร์ม JADC03-Template
ตาราง ภาพ และสมการ ตาราง ต้องมีหมายเลขกำกับโดยใช้คำว่า “ตารางที่.....” และมีคำอธิบายเหนือตาราง เนื้อเรื่องในตาราง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ 
  ภาพ ต้องมีหมายเลขกำกับโดยใช้คำว่า “ภาพที่ .....” และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้ภาพ และควรมีความละเอียดของภาพอย่างน้อยที่สุด 360 ppi โดยทุกตารางและภาพที่ใส่ไว้ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ และห้ามใช้คำว่า “แสดง” ในการขึ้นต้นการอธิบาย  
  สมการ ต้องพิมพ์กึ่งกลางคอลัมน์และต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ หมายเลขสมการอยู่ชิดขอบขวาของคอลัมน์ 
หัวข้อหลัก ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา
หัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวเอียง
เนื้อเรื่องในหัวข้อหลักและหัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ

2. ขั้นตอนการส่งบทความ
เนื่องด้วยวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง กำาลังรับการปรับปรุงให้เป็นวารสารออนไลน์ จึงขอให้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
        1. เตรียมไฟล์ต้นฉบับตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
        2. ผู้เขียนส่งบทความฉบับสมบูรณ์ และไฟล์ภาพที่ใช้ในบทความทางอีเมล Jadcarch@msu.ac.thเพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจสอบเบื้องต้น
        3. ลงทะเบียนสมาชิก เข้าเว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/index ทำตามคำแนะนำสำหรับการใช้งานเบื้องต้นของระบบ ThaiJO2 สำาหรับผู้นิพนธ์ (Author) ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้
        3.1 การสมัครสมาชิกวารสาร (Author Register) ผู้ใช้ยังไม่มี Username, Password ในระบบ ThaiJO
        3.2 การส่งบทความ (Submission)
        3.3 รอตรวจสอบสถานะ การตอบรับ/ปฏิเสธ ทาง E-mail/ระบบ ThaiJO

3. การพิจารณาคุณภาพของบทความ
        1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน
        2. บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 15 วันทำการ
        3. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน
        4. ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 10 วันทำการ

4. เกณฑ์การพิจารณาบทความ
        1. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ
หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) อย่างน้อย 3 ท่าน
        2. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ
        3.ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์
        4.เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อเผยแพร่บทความ